นายกอบศักดิ์ภูตระกูลกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพและประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย(เฟทโก้)เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในเรื่องการเก็บภาษีขายหุ้นที่ผ่านครม.ว่าทางสภาธุรกิจตลาดทุนไทย(FETCO)เคยได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเมื่อวันที่5พฤษภาคมที่ผ่านมา(ดังแนบ)และได้ทักท้วงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

ในช่วงที่ตลาดผันผวนปั่นป่วนอย่างยิ่งในสินทรัพย์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นหุ้นพันธบัตรทองคำค่าเงินและสินทรัพย์ใหม่เช่นเงินคริปโตตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเป็นต้นมาส่งผลกระทบต่อนักลงทุนและจะผันผวนไปอีกระยะ

นอกจากนี้ยังมีวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นรออยู่ข้างหน้าซึ่งเริ่มเห็นถึงเค้าลางในบางประเทศและสภาพคล่องของตลาดหลักทรัพย์ไทยได้ลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือน้อยกว่าครึ่งของก่อนหน้า

ขอยืนยันว่าช่วงนี้จึงไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมสำหรับเรื่องนี้ครับคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ทั้งนี้จดหมายเปิดผนึกที่สภาธุรกิจตลาดทุนไทยเคยส่งถึงรมต.คลังเมื่อวันที่5พ.ค.65ที่ผ่านมาได้เสนอความคิดเห็นและแนวทางการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมสำหรับตลาดทุนไว้5ข้อดังนี้

  • FETCOไม่เห็นด้วยที่จะมีการเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายหลักทรัพย์เนื่องจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพคล่องของตลาดเป็นภาระและส่งผลกระทบต่อการซื้อขายรวมถึงด้อยค่าหลักทรัพย์ที่ผู้ถือหุ้นถือครองอยู่โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนรายย่อยกว่า2ล้านคนที่ลงทุนทางตรงในตลาดหลักทรัพย์และอีก17ล้านคนที่ลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมและกองทุนสวัสดิการต่างๆรวมถึงนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างประเทศทั้งนี้จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนต้องออมเพิ่มขึ้นอีก2-3ปีเพื่อให้มีเงินเพียงพอในยามเกษียณ
  • ภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นจะเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสำหรับMarket Markers (MM)ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลาดทุนใหม่ๆโดยเฉพาะDerivative WarrantและSingle Stock Futuresซึ่งอ้างอิงหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อันจะส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมและขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทยในเวทีโลก
  • ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศที่พัฒนาแล้วหากจัดเก็บภาษีจะนิยมให้การยกเว้นแก่กลุ่มMMเช่นฮ่องกงอังกฤษฝรั่งเศสอิตาลีสเปนและกลุ่มกองทุนรวม/กองทุนบำนาญ/กองทุนสวัสดิการเช่นอิตาลีสวิตเซอร์แลนด์เบลเยี่ยมไอซ์แลนด์เพื่อลดผลกระทบต่อการออมการลงทุนของประชาชนในวงกว้างและต่อการพัฒนาเชิงนวัตกรรมของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศทั้งนี้ในกรณีของไทยนักลงทุนทั้ง2กลุ่มทำธุรกรรมขายรวมกัน12-17%ของมูลค่าขายทั้งหมดในตลาด(สถาบันในประเทศ7%และMM 5-10%)ดังนั้นการให้ยกเว้นภาษีต่อไปถือว่าคุ้มค่าหากเปรียบเทียบเม็ดเงินภาษีดังกล่าวกับผลประโยชน์ในวงกว้างต่อประชาชนและการพัฒนาศักยภาพของตลาดหลักทรัพย์ไทยในระยะยาว
  • อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ0.1%ถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี2534เมื่ออัตราcommissionอยู่ที่ระดับ0.5%อย่างไรก็ดีจากสภาวะการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศที่มีมากขึ้นอัตราcommissionจึงลดลงเหลือเพียง0.08%ในปัจจุบันดังนั้นมูลค่าภาษีที่จัดเก็บตามอัตราภาษีที่0.1%และเมื่อรวมภาษีท้องถิ่นอีก0.01%เป็น0.11%จะสูงถึง0.7เท่าของมูลค่าค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่จัดเก็บในปัจจุบันจึงจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อขายอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดทุนทั่วโลกมีความผันผวนสูงจากสถานการณ์โควิดและสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนรวมทั้งการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯส่งผลให้ดัชนีหุ้นทั่วโลกอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศมีความผันผวนมากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะเป็นการตอกย้ำความผันผวนดังกล่าว
  • ต้นทุนการระดมทุน(cost of capital)ที่สูงขึ้นเมื่อสภาพคล่องในตลาดลดลงจะทำให้บริษัทจดทะเบียนชะลอหรือลดการลงทุนขยายธุรกิจมีกำไรลดลงท้ายที่สุดproductivityและGDPของประเทศรวมตลอดถึงภาษีนิติบุคคลที่บริษัทจ่ายได้จะลดลงตามไปด้วยทั้งนี้ผลเสียจะกระทบแรงกับกลุ่มบริษัทขนาดกลางและเล็กที่มีทางเลือกของแหล่งเงินทุนที่จำกัดมากอยู่แล้วในปัจจุบัน

By admin