ทีมข่าว “นวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ซึ่งมีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน ได้เห็นชอบผลการศึกษาออกแบบ เอกสารประกวดราคา และรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร (กม.) แล้ว เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนี้จะเสนอให้กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณา ก่อนเสนอคณะกรรมการ PPP และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการฯ ในช่วงประมาณเดือน ก.พ. 67 ต่อไป
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เบื้องต้น รฟม. มีแผนดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนPPPในช่วงประมาณเดือน ก.ย. 67-ก.ย. 68 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ได้ประมาณเดือน ต.ค. 68 จากนั้นจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปี และจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ประมาณเดือน ต.ค. 71 อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เป็นระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) แบบโครงสร้างยกระดับตลอดทั้งเส้นทาง มี 20 สถานี วงเงินลงทุน 49,865 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท,งานก่อสร้าง 18,544 ล้านบาท,งานระบบ 16,351 ล้านบาท,ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,396 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด (Provisional Sum)6,320 ล้านบาท
สำหรับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีชมพู บริเวณแยกแคราย วิ่งไปตามแนวถนนงามวงศ์วานจนถึงแยกบางเขน เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง แล้วข้ามถนนวิภาวดีรังสิต โดยลอดใต้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อวิ่งต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูญกิจ ผ่านแยกฉลองรัชเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ยาวไปจนถึงแยกนวมินทร์ ก่อนเลี้ยวลงทางทิศใต้ไปตามแนวถนนนวมินทร์ จนถึงแยกสวนสน ซึ่งเป็นสถานีปลายทางที่สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสีเหลืองได้ ทั้งนี้เมื่อรวมแล้ว รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายอื่นได้ 7 เส้นทาง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ทั้งนี้พื้นที่ในช่วงถนนประเสริฐมนูญกิจ จะใช้พื้นที่เกาะกลางร่วมกับโครงการทางพิเศษ (ด่วน) สายเหนือ ตอนN2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะมีโครงสร้างเสาตอม่ออยู่ระหว่างเสาตอม่อเดิมของโครงการทางด่วน ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลอยู่ใต้ทางด่วน สำหรับการก่อสร้างนั้นเบื้องต้น กทพ. จะก่อสร้างN2 ช่วงเดือน ต.ค. 67-ก.ย. 70 ขณะที่ รฟม. จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลในเดือน ต.ค. 68-ก.ย. 71 ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานจะวางแผนงานก่อสร้างร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบระหว่างก่อสร้างต่อประชาชนให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ก่อสร้างที่ต้องใช้ร่วมกัน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามแนวเส้นทาง สถานี และศูนย์ซ่อมบำรุงรวม 436 แปลง พื้นที่ประมาณ 67 ไร่ 1 งาน 52.3 ตารางวา และต้องรื้อถอนอาคาร รวมถึงสิ่งปลูกสร้างประมาณ 232 หลัง โดย รฟม. จะดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน และการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2562 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ต่อไป.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง